วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ดินเค็ม
ดินเค็ม (Salinity)
ดินเค็มคือดินที่มีปริมาณเกลือสูงจนมีผลเสียต่อพืช ซึ่งพิจารณาได้จากค่าการนำไฟฟ้า Electrical conductivity (EC) ของดิน ในดินเค็มมีค่าการนำไฟฟ้าของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำมากกว่า 4 dS/m มีอิออนที่เกี่ยวข้องหลายตัวแต่ที่สำคัญๆ คืออิออนของโซเดียม (Na) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) คลอไรด์ และซัลเฟต ผลของดินเค็มที่มีต่อพืชคือทำให้พืชขาดน้ำ เพราะพืชดูดน้ำไปใช้ไม่ได้ เกิดความเป็นพิษของโซเดียมและคลอรีน การมีเกลือมากยังไปยับยั้งการดูดใช้โพแทสเซียมและแคลเซียมด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ปริมาณคลอโรฟิลล์และอัตราการสังเคราะห์แสงลดลง เพิ่มอัตราการหายใจและเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในพืชในขณะที่ปริมาณโพแทสเซียมและแคลเซียมกลับลดลง (เนื่องจากการดูดใช้ลดลง) ในข้าวที่ทนต่อความเค็ม โดยปกติจะเป็นข้าวที่ยังคงสามารถดูดใช้ธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะโพแทสเซียมได้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากดินเค็ม ทำให้ข้าวที่ทนเค็มมีค่า K:Na สูงกว่า และมีระดับของ Ca2+ ในใบสูงกว่าพันธุ์อ่อนแอ
ข้าวที่ได้รับผลกระทบจากดินเค็มจะมีปลายใบสีขาว บางใบแห้งเป็นแถบๆ จะเกิดกับใบแก่ก่อนแล้วจึงลามมาที่ใบที่กำลังเจริญเติบโต ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโตและการแตกกอลดลง มักเกิดเป็นหย่อมๆ ในแปลง ข้าวที่กำลังงอกค่อนข้างจะมีความทนทานต่อความเค็ม แต่ค่อนข้างจะอ่อนแอในระยะที่เป็นต้นกล้า ระยะปักดำ และระยะออกดอก ดินเค็มอาจทำให้ข้าวขาดธาตุฟอสฟอรัส สังกะสี เหล็ก หรือโบรอนได้ด้วย อาการอื่นๆ ของข้าวที่ได้รับผลกระทบจากดินเค็มคืออัตราความงอกลดลง ความสูงและการแตกกอลดลง รากมีการเจริญเติบโตไม่ดี ดอกมีความเป็นหมันเพิ่มขึ้น น้ำหนักเมล็ดและโปรตีนในเมล็ดลดลง (แต่ไม่มีผลต่อคุณภาพการหุงต้ม) ทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด สามารถประมาณสัดส่วนของผลผลิตที่ลดลงได้คร่าวๆ ดังนี้
EC น้อยกว่า 2 dS/m: ไม่ทำให้ผลผลิตลดลง
EC มากกว่า 4 dS/m: ทำให้ผลผลิตลดลงเล็กน้อย คือลดลงร้อยละ 10 – 15
EC มากกว่า 6 dS/m: ทำให้ผลผลิตลดลงปานกลาง คือลดลงร้อยละ 20 – 50
EC มากกว่า 10 dS/m: ทำให้ผลผลิตในพันธุ์ที่อ่อนแอลดลงมากกว่าร้อยละ 50
สาเหตุที่ดินเค็มเกิดจากดินมีอัตราการระเหยน้ำสูงและน้ำใต้ดินมีปริมาณเกลือสูง มีวิธีการป้องกันและแก้ไขดินเค็มดังนี้
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ประโยชน์ของสารประกอบ
ประโยชน์ของสารประกอบ
สารประกอบ
สารประกอบ (Compound) เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน สร้างพันธะเคมีต่อกันในอัตราส่วนที่คงที่ เกิดเป็นโมเลกุล เขียนแทนสูตรเคมี เช่น น้ำ (H2O) เกลือแกง (NaCl) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้ำส้มสายชู (CH3COOH) เป็นต้น จะพบว่าสารประกอบมีสูตรเดียว ถ้าสูตรเคมีเปลี่ยนไปจะไม่ใช่สารเดิม เช่น ธาตุคาร์บอน (C) ทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน (O2) เกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันไป
สารประกอบสามารถแยกสลายให้องค์ประกอบย่อย เช่น เมื่อเผาด่างทับทิม (KMnO4) จะได้ก๊าซออกซิเจน ของแข็งสีเขียว (K2MnO2) และของแข็งสีดำ (MnO2) เป็นต้น
การเกิดสารประกอบ
สัญลักษณ์แสดงบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผ่านการฉายรังสี
สัญลักษณ์แสดงบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผ่านการฉายรังสี
รังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี เมื่อผ่านเข้าสู่สิ่งมีชีวิตใดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้น และอาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้รังสีสามารถทำให้มีการเปลี่ยนแปลง
โครโมโซมของเซลล์สืบพันธุ์ได้ ดังนั้น ถ้าเซลล์ สืบพันธุ์ได้รับรังสีในปริมาณมากพอต่อการเปลี่ยนแปลงก็จะ
มีผลสืบเนื่องต่อไปยังลูกหลานได้ เช่นเดียวกับ การกลายพันธุ์ของพืช การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่วนมากให้ผลในทาง
ไม่พึงปรารถนาด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญาโดยห้ามทำการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
ทั้งในอากาศและบนพื้นดิน
หลักในการป้องกันอันตรายจากรังสี
1. พยายามอยู่ห่างบริเวณที่มีธาตุกัมมันตรังสีให้มากที่สุด
2. หากจำเป็นต้องเข้าใกล้บริเวณที่มีธาตุกัมมันตรังสี ควรเข้าใกล้ในช่วงเวลาที่สั้นที่สุด
3. ควรใช้วัตถุที่รังสีทะลุผ่านได้น้อยมาเป็นเครื่องกำบัง เช่น ใช้ตะกั่วหรือคอนกรีต
เป็นเครื่องกำบังรังสีแกมมาและรังสีบีตา สัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับรังสี สัญลักษณ์เตือนภัยเกี่ยวกับกัมมันตรังสี
สัญลักษณ์เตือนภัยกัมมันตรังสี
สัญลักษณ์เตือนภัยกัมมันตรังสี
วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive material) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย การพิจารณาความเป็นอันตรายให้เป็นไปตามมารตราฐานและข้อกำหนดต่าง ๆ ด้านการขนส่งสารกัมตรังสีของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างปรหะเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA)
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554
การเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน
ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี
แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์
แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์
เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ในระบบระบายไอเสียของเครื่องยนต์หัวฉีดยุคใหม่ มีจุดประสงค์หลักในการช่วยลดมลพิษในไอเสียก่อนไหลเข้าสู่หม้อพักใบแรก โดยอาจติดตั้งรวมกับท่อร่วมไอเสียหรือแยกออกมา มักเรียกกันว่า -ตัวกรองไอเสีย- ทั้งที่น่าจะเรียกว่า อุปกรณ์บำบัดไอเสีย เพราะไม่ได้ทำงานด้วยการกรองไว้ แต่ใช้ปฏิกริยาทางเคมีสลับการยึดเหนี่ยวของโมเลกุล เมื่อไอเสียไหลผ่านรังผึ้งที่เคลือบสารพิเศษไว้ จะเปลี่ยนไฮโดรคาร์บอน, คาร์บอนมอนออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ที่เป็นพิษให้กลายเป็นไอน้ำ, คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจน ที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
อุปกรณ์บำบัดไอเสียมีจุดด้อยที่ค้างคาใจคนส่วนใหญ่ว่า เป็นตัวอั้นการไหลของไอเสีย ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังลดลง และเมื่อหมดสภาพต้องเปลี่ยนตัวใหม่ในราคาหลายพันบาท จึงอาจถูกตัดออกทั้งที่ยังไม่หมดสภาพ โดยไม่ห่วงใยมลพิษในอากาศที่จะเพิ่มขึ้น
ในความเป็นจริง อุปกรณ์บำบัดไอเสียอาจมีผลอั้นไอเสียบ้าง แต่ก็น้อยมากและผู้ผลิตก็พยายามลดปัญหานี้ลง กระทั่งปัจจุบันแทบไม่ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังลดลงเลย ทั้งยังพยายามเพิ่มอายุการใช้งานจนเกิน 100,000-200,000 กิโลเมตร และมีราคาลดลงเรื่อยๆ (หากราชการยกเว้นภาษีเพราะห่วงใยสิ่งแวดล้อม)
ดังนั้น การถอดอุปกรณ์บำบัดไอเสียออกเพื่อหวังผลเรื่องกำลังของเครื่องยนต์จึงไม่ควรกระทำ เพราะมีกำลังเพิ่มขึ้นน้อย แต่เพิ่มมลพิษในอากาศมาก แม้หมดอายุแล้วก็ไม่ควรถอดออกเพื่อต่อท่อตรง
อุปกรณ์บำบัดไอเสียจะมีอายุการใช้งานสั้นลงจากปกติ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ เช่น มีส่วนผสมไอดีหนา-บางเกินไป หรือมีการเติมน้ำมันเบนซินซูเปอร์ (แม้ในปัจจุบันไม่มีสารตะกั่ว) จะทำให้อุปกรณ์บำบัดไอเสียมีอายุการใช้งานสั้นลง แต่ก็ยังมีสารเคลือบบ่าวาล์วซึ่งจะกลายเป็นเถ้าเกาะ โดยทั่วไปแล้วรถยนต์ที่มีอุปกรณ์บำบัดไอเสียติดตั้งอยู่จะใช้ช่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก ไม่สามารถเสียบหัวจ่ายเบนซินซูเปอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สมการเคมี
สมการเคมี คือ กลุ่มสัญลักษณ์ที่เขียนแทนปฏิกิริยาเคมี ให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในระบบ สมการเคมีประกอบด้วยสัญลักษณ์ แสดงสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์ เงื่อนไขแสดงปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยลูกศรทิศทางแสดงของปฏิกิริยา
สารตั้งต้น ผลิตภัณฑ์
Zn (s) +2HCl(aq) ZnCl2(aq) + H2(g)
สารที่เขียนทางซ้ายมือของลูกศร เรียกว่า สารตั้งต้น
สารที่เขียนทางขวามือของลูกศร เรียกว่า สารผลิตภัณฑ์
เครื่องหมาย + หมายถึงทำปฏิกิริยากัน
เครื่องหมาย แสดงการเปลี่ยนแปลงของสารตั้งต้นไปเป็นสารผลิตภัณฑ์
กฎทรงมวลของสาร
กฎทรงมวลของสาร
ลาวัวซิเยร์ : กฎทรงมวล
เมื่อเคมีสมัยใหม่เริ่มต้นในศริสตศตวรรษที่ 18 นักวิทยาศาสตร์เริ่มที่จะสังเกตปริมาณของสาร จากการทดลองของลาวัวซิเยร์ เพื่อแยกแก๊สออกซิเจนออกมา ในการทดลองของ ลาวัวซิเยร์ มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องดังรูป ด้านล่าง โดยที่นำเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ใส่ลงไปในขวดคอยาวโดยที่คอขวดต่ออยู่กับครอบแก้วรูประฆังมีปริมาตร 40 ลูกบาศก์นิ้วสำหรับเก็บแก๊สที่เผาได้ โดยใช้เตาเผาที่มีถ่าน (charcoal) เป็นเชื้อเพลิง เขาได้ชั่งน้ำหนักของสารเริ่มต้น ก่อนเผาไว้ จากนั้นทำการเผา เมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ เป็นเวลา 12 วัน จะสังเกตได้ว่าระดับน้ำในขวดรูประฆังลดลงแสดงว่าต้องมีแก๊สเกิดขึ้น ทดสอบโดยการจุดเทียนไขได้เปลวไฟที่สว่าง มากกว่าปกติ ส่วนในขวดคอยาวพบว่ามีปรอทเหลว(mercury)
ระบบปิดและระบบเปิด
ระบบปิดและระบบเปิด
ระบบปิดระบบเปิด
ความหมายของระบบปิดระบบเปิด
ระบบเปิดและระบบปิด
ระบบเปิด ( Open System )
คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ
ระบบปิด ( Close System )
คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย
หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว
ภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้
โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด
เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น
การเผาไหม้
ปฏิกิริยาการเผาไหม้ (Combustion)
ปฏิกิริยาการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซึ่งมีธาตุคาร์บอนกับไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เชื้อเพลิงส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมเลียมและถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป ส่วนฟืน ถ่าน ขี้เลื่อย หรือแอลกอฮอล์ เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วสามารถผลิตขึ้นมาทดแทนได้ เชื้อเพลิงเมื่อเผาไหม้จะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในอากาศได้ 2 แบบ ดังนี้
ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี
ตัวเร่งปฏิกิริยา (อังกฤษ: catalyst) คือ วัตถุที่เพิ่มเข้าไปในในปฏิกิริยาแล้วทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น แต่ไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาเช่น การใส่ยีสต์ในการหมักเหล้าเพื่อเร่งปฏิกิริยา มีทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี เช่น โลหะ และตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่นเอนไซม์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยา หมายถึง ปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลง หรือปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้นต่อหน่วยเวลา โดยอาจวัดปริมาณของสารได้จากความเข้มข้น ปริมาตร หรือมวลของสารที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากเกิดปฏิกิริยา ซึ่งสามารถเขียนสูตรแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้น บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แม้แต่ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งต้นชนิดเดียวกัน บางครั้งก็ยังเกิดขึ้นได้ด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกัน โดยอัตราเร็วของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับชนิดของสารตั้งต้นและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ
ข้อดีของการใช้พลังงานทดแทน
ข้อดี
ข้อดี
1.เป็นพลังงานที่ต้องใช้ในอนาคต
2.เป็นพลังงานที่สะอาด
3.เป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ(บางชนิด)
4.เป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ข้อเสีย
1.ในปัจจุบันยังมีราคาต่อหน่วยแพง
2.เทคโนโลยีการแปรรูปพลังงานทดแทนบางชนิดมีกาพัฒนาน้อย
3.ศักยภาพของพลังงานมีเฉพาะแหล่งและขีดจำกัด
4.ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้น้อยมาก
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554
พลังงานทดแทน
พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มาเป็น ๒ ประเภท คือ
พลังงานทดแทน (Alternative Energy)จากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และ
พลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น
ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง ผลของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นจากสารตั้งต้นเข้าทำปฏิกิริยากัน เกิดเป็นสารผลิตภัณฑ์ต่างชนิดกันผลิตภัณฑ์ที่ได้มีทั้งประโยชน์และโทษ รอบตัวเรานั้นมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นมากมาย แม้กระทั่งการดำรงชีวิตอยู่ได้ของเราก็เกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีภายในร่างกาย ดังนั้น ปฏิกิริยาเคมีจึงมีความสำคัญ ปฏิกิริยาเคมีที่พบเห็นทั่วไป เช่น การเกิดฝนกรด ปฏิกิริยาเผาไหม้ ปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบออกไซด์ของโลหะและออกไซด์ของอโลหะ ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับกรด ปฏิกิริยาของกรดกับสารคาร์บอเนต ปฏิกิริยาระหว่ากรดกับเบส เป็นต้น
แก๊สโซฮอล์
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 คือ น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของ เอทานอล หรือแอลกอฮอล์ 20% นั่นเอง น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 หรือ 91 ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน คือ น้ำมันเบนซิน 95 หรือ 91 ที่มีส่วนผสมของ เอทานอล 10% หรือเรียกว่า E10
น้ำมัน E10 นี้ รถยนต์ส่วนใหญ่ที่เป็นระบบหัวฉีดแล้วก็จะใช้ได้โดยไม่มีปัญหา แต่น้ำมัน E20 นี้ ต้องใช้กับรถยนต์ที่ผลิตมาให้ใช้ได้เท่านั้น เพราะแอลกอฮอล์มีคุณสมบัติในการกัดกร่อน ส่วนประกอบที่เป็นยาง หรือเรซิ่นบางอย่างจะถูกกัดกร่อนได้ รถที่ซื้อก่อนปี พ.ศ. 2551 นี้ส่วนใหญ่จะใช้ไม่ได้ค่ะ ต้องหา part ที่ทนก่อการกัดกร่อนมาเปลี่ยนก่อนจึงจะใช้ได้ แต่ปัญหาคือ ไม่รู้ผู้ผลิตรถแต่ละเจ้าจะเสนอทางเลือกนี้ให้แก่เราหรือเปล่า เราเองก็ไม่รู้ว่าจะหา part เหล่านี้มาจากไหน
แก๊สโซฮอล์
แอลกอฮอล์ที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมของ E85 มักเป็นไบโอแอลกอฮอล์ ที่ได้จากธรรมชาติ เช่นจากข้าวโพดในสหรัฐอเมริกา จากอ้อยและมันสำปะหลังในประเทศไทย
E85 จะมีค่าออกเทน อยู่ที่ 100 ถึง 105 [1] สูงกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป ซึ่งมีค่าออกเทน 87 ถึง 95 รถยนต์ที่ใช้ E85 จะมีอัตราการสิ้นเปลืองสูงกว่ารถที่ใช้น้ำมันเบนซิน ประมาณ 28% [2][3] แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเครื่องยนต์รุ่นใหม่ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับคุณสมบัติของ E85 เพื่อให้การสิ้นเปลืองลดน้อยลง
พาหนะที่ใช้น้ำมัน E85 จะต้องใช้เครื่องยนต์ที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ ดังเช่นรถFFV ในสหรัฐอเมริกา บราซิล สวีเดน อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้ Conversion Kit สำหรับแปลงระบบการจ่ายน้ำมันชื้อเพลิงในรถทั่วไปที่ไม่ใช่ FFV กันอย่างแพร่หลายทั้งในบราซิลและสหรัฐอเมริกา
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554
แก๊ซโซฮอล์
แก๊ซโซฮอล์ เป็นน้ำมันที่เกิดจากการผสมระหว่างน้ำมันเบนซินกับแอลกอฮอล์ซึ่งผลิตจากพืช ทำให้ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงของรถยนต์จากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่สองชนิดคือ แก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)