วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
หน้าตัดชั้นดิน
ปัจจัยต่างๆของการกำเนิดดินทำให้ได้ดินที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างมาก ดินในภูมิประเทศหนึ่งๆ จะมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เราเรียกภาคตัดตามแนวดิ่งของชั้นดินเรียกว่า “ หน้าตัดดิน” (Soil Horizon) ซึ่งประกอบด้วยดินที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ เรียกว่า “ ชั้นดิน” (Soil horizon)
นักปฐพีวิทยากำหนดชื่อของชั้นดินโดยใช้ลักษณะทางกายภาพ ดังนี้
· - ชั้น โอ (O-horizon)เป็นช่วงชั้นดินที่มีสารอินทรีย์หรือฮิวมัสสะสมตัวอยู่มาก มักมีสีเทาหรือเทาดำ ดินชั้นโอ ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ป่าส่วนในพื้นที่การเกษตรจะไม่มีชั้นโอในหน้าตัดดิน เนื่องจากถูกไถพรวนไปหมด
· - ชั้น เอ (A-horizon) เป็นเขตการซึมชะ (Zone of Leaching) เป็นชั้นที่น้ำซึมผ่านจากชั้นบน แล้วทำปฏิกิริยากับแร่ บางชนิด เกิดการสลายตัวของแร่ ในพื้นที่เกษตรกรรมดินชั้นเอ จะถูกไถพรวน เมื่อมีการย่อยสลายของรากพืชและมีการสะสมอินทรียวัตถุ สารละลายที่ได้จะซึมผ่านลงไปสะสมตัวในชั้นต่อไปทำให้ดินชั้นนี้ มีสีจางลง
· - ชั้น บี (B-horizon) เป็นเขตการสะสมของแร่ในชั้นดิน ( Zone of Accumulation ) เป็นชั้นที่มีการตกตะกอน และสะสมตัวของแร่จากสารละลายที่ไหลลงมาจากชั้น เอ ชั้นดิน มักมีสีแดง หรือน้ำตาลแดงตามสีแร่ที่มาสะสมตัวอยู่ ส่วนมากดินชั้นนี้เป็นดินเหนียว
· - ชั้น ซี (C-horizon) เป็นชั้นหินผุ (Weathered rock) ที่หินบางส่วนผุพัง กลายเป็นดินปะปนกับเศษหิน ที่แตกหัก มาจากชั้นหินดานเดิม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น