ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

โครมาโทกราฟี


การแยกสาร

การแยกสาาร

การแยกสา
ใช้ในการแยกสารประกอบซึ่งมี 7 วิธี ได้แก่
1. การกลั่น เหมาะสำหรับแยกของเหลวที่ปนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยทำให้ของเหลวกลายเป็นไอ แล้วทำให้ควบแน่นเป็นของเหลวอีก แบ่งออก เป็น 2 ประเภท คือ
- การกลั่นธรรมดา เหมาะสำหรับสารที่มีจุดเดือดต่างกันประมาณ 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไป แต่อุณหภูมิตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียส ก็จะเกิดกระบวนการแล้ว
- การกลั่นลำดับส่วน เหมาะสำหรับสารที่มีจุดเดือดต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะมีข้อเสีย คือ จะใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก และมีความสลับซับซ้อน การกลั่นลำดับส่วนบางครั้งไม่ได้แยกสารให้บริสุทธิ์ แต่แยกเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ เช่น การแยกน้ำมันดิบ โดยจะแยกพวกที่มีจุดเดือดใกล้เคียงไว้ด้วยกัน แต่ถ้าสารที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกันมาก แต่ไม่มีเครื่องกลั่นลำดับส่วนก็สามารถกลั่นได้ด้วยเครื่องกลั่นธรรมดา แต่จะต้องกลั่นหลาย ๆ ครั้ง จนกระทั่งจุดเดือด และจุดหลอมเหลวคงที่

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ห้องหินตะกอน


ให้นักเรียนลองเล่นกิจกรรมห้องหินตะกอน

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 3.1 สำรวจหน้าตัดข้างของดิน


ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม

กลุ่มที่......วันที่.....เดือน........พ.ศ..........
ที่ตั้งจุดศึกษา หมู่บ้าน......ตำบล......อำเภอ........จังหวัด..........
ลักษณะภูมิประเทศ
.....ที่ลาดเชิงเขา....ที่ราบ.....ที่ราบสูง......ชายฝั่งทะเล......หุบเขา...
สภาพภูมิอากาศ........
การใช้ประโยชน์จากที่ดิน......
.....พืชยืนต้น......พืชไร่....พืชสวน...สวนผัก.....นาข้าว....อื่น ๆ....
...ใช้พื้นที่ในการปลูกสร้าง....ใช้เลี้ยงสัตว์...เป็นเขตป่าไม้...เป็นเขตอุตสาหกรรม
สีดินสิ่งต่าง ๆ ที่ปนอยู่ในดิน

หินและการเปลี่ยนแปลง


ประเภทของหิน

หินและการเปลี่ยนแปลงชั้น ป.4
ให้นักเรียนลองศึกษาดูและทำแบบทดสอบก่อนเรียน

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส


การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส(MEIOSIS)
เป็นกระบวนการแบ่งนิวเคลียสเพื่อให้ได้เซลล์สืบพันธุ์ โดยแต่ละเซลล์ที่ได้มีจำนวนโครโมโซมลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม

การแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส


การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ( mitosis)
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของร่างกาย ในการเจริญเติบโต ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ หรือในการแบ่งเซลล์ เพื่อการสืบพันธุ์ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และหลายเซลล์บางชนิด เช่น พืช
• ไม่มีการลดจำนวนชุดโครโมโซม ( 2n ไป 2n หรือ n ไป n )

• เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์จะได้ 2 เซลล์ใหม่ที่มีโครโมโซมเท่าๆ กัน และเท่ากับเซลล์ตั้งต้น

• พบที่เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด , ปลายราก , แคมเบียม ของพืชหรือเนื้อเยื่อบุผิว , ไขกระดูกในสัตว์ , การสร้างสเปิร์ม และไข่ของพืช

• มี 5 ระยะ คือ อินเตอร์เฟส ( interphase), โพรเฟส ( prophase), เมทาเฟส (metaphase), แอนาเฟส ( anaphase) และเทโลเฟส ( telophase)