ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ห้องหินตะกอน


ให้นักเรียนลองเล่นกิจกรรมห้องหินตะกอน

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 3.1 สำรวจหน้าตัดข้างของดิน


ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม

กลุ่มที่......วันที่.....เดือน........พ.ศ..........
ที่ตั้งจุดศึกษา หมู่บ้าน......ตำบล......อำเภอ........จังหวัด..........
ลักษณะภูมิประเทศ
.....ที่ลาดเชิงเขา....ที่ราบ.....ที่ราบสูง......ชายฝั่งทะเล......หุบเขา...
สภาพภูมิอากาศ........
การใช้ประโยชน์จากที่ดิน......
.....พืชยืนต้น......พืชไร่....พืชสวน...สวนผัก.....นาข้าว....อื่น ๆ....
...ใช้พื้นที่ในการปลูกสร้าง....ใช้เลี้ยงสัตว์...เป็นเขตป่าไม้...เป็นเขตอุตสาหกรรม
สีดินสิ่งต่าง ๆ ที่ปนอยู่ในดิน

หินและการเปลี่ยนแปลง


ประเภทของหิน

หินและการเปลี่ยนแปลงชั้น ป.4
ให้นักเรียนลองศึกษาดูและทำแบบทดสอบก่อนเรียน

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส


การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส(MEIOSIS)
เป็นกระบวนการแบ่งนิวเคลียสเพื่อให้ได้เซลล์สืบพันธุ์ โดยแต่ละเซลล์ที่ได้มีจำนวนโครโมโซมลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม

การแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส


การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ( mitosis)
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของร่างกาย ในการเจริญเติบโต ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ หรือในการแบ่งเซลล์ เพื่อการสืบพันธุ์ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และหลายเซลล์บางชนิด เช่น พืช
• ไม่มีการลดจำนวนชุดโครโมโซม ( 2n ไป 2n หรือ n ไป n )

• เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์จะได้ 2 เซลล์ใหม่ที่มีโครโมโซมเท่าๆ กัน และเท่ากับเซลล์ตั้งต้น

• พบที่เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด , ปลายราก , แคมเบียม ของพืชหรือเนื้อเยื่อบุผิว , ไขกระดูกในสัตว์ , การสร้างสเปิร์ม และไข่ของพืช

• มี 5 ระยะ คือ อินเตอร์เฟส ( interphase), โพรเฟส ( prophase), เมทาเฟส (metaphase), แอนาเฟส ( anaphase) และเทโลเฟส ( telophase)

เซลล์


หน่วยของสิ่งมีชีวิต


1. เซลล์ (Cell) หมายถึง หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต มีรูปร่างลักษณะและขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิตและหน้าที่ของเซลล์เหล่านั้นเซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) หรือ PPLO (Pleuropneumonia - like organism) มีขนาดประมาณ 0.1 - 0.25 mเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เซลล์ไข่นกกระจอกเทศ

2. เซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปมีโครงสร้างหลักคล้ายกัน แต่อาจมีลักษณะบางประการแตกต่างอย่างเด่นชัด นักชีววิทยาจึงจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างเซลล์ คือ

สีของดิน


สีของดิน..เป็นสมบัติของดินที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าสมบัติอื่นๆ
ดินแต่ละบริเวณจะมีสีที่แตกต่างกันไป เช่น สีดำ น้ำตาล เหลือง แดง หรือ สีเทา รวมถึงจุดประสีต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของแร่ที่เป็นองค์ประกอบในดิน สภาพแวดล้อมในการเกิดดิน ระยะเวลาการพัฒนา หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีอยู่ในดิน

ดังนั้น...จากสีของดิน เราสามารถที่จะประเมินสมบัติบางอย่างของดินที่เกี่ยวข้องได้ เช่น การระบายน้ำของดิน อินทรียวัตถุในดิน ระดับความความอุดมสมบูรณ์ของดิน....

ดินสีดำ สีน้ำตาลเข้มหรือสีคล้ำ

ส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เนื่องจากมีการคลุกเคล้าด้วยอินทรียวัตถุมาก โดยเฉพาะดินชั้นบน แต่บางกรณี สีคล้ำของดิน อาจจะเป็นผลมาจากอิทธิพลของปัจจัยที่ควบคุมการเกิดดินอื่นๆ นอกเหนือไปจากการมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินมากก็ได้ เช่น ดินที่พัฒนามาจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่ผุพังสลายตัวมาจากหินที่ประกอบด้วยแร่ที่มีสีเข้ม เช่น หินภูเขาไฟ และมีระยะเวลาการพัฒนาไม่นาน หรือดินมีแร่แมงกานีสสูง ก็จะให้ดินที่มีสีคล้ำได้เช่นกัน


ดินสีเหลืองหรือแดง

สีเหลืองหรือแดงของดินส่วนใหญ่จะเป็นสีออกไซด์ของเหล็กและอลูมิเนียม แสดงถึงการที่ดินมีพัฒนาการสูง ผ่านกระบวนการผุพังสลายตัวและซึมชะมานาน เป็นดินที่มีการระบายน้ำดี แต่มักจะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินสีเหลืองแสดงว่าดินมีออกไซด์ของเหล็กที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ ส่วนดินสีแดงจะเป็นดินที่ออกไซด์ของเหล็กหรืออลูมิเนียมไม่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ

ดินสีขาวหรือสีเทาอ่อน

การที่ดินมีสีอ่อน อาจจะแสดงว่าเป็นดินที่เกิดมาจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกที่สลายตัวมาจากหินที่มีแร่สีจาง เป็นองค์ประกอบอยู่มาก เช่น หินแกรนิต หรือหินทรายบางชนิด หรืออาจจะเป็นดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างอย่างรุนแรง จนธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชถูกซึมชะออกไปจนหมด หรือมีสีอ่อนเนื่องจากมีการสะสมปูน ยิปซัม หรือเกลือชนิดต่างๆ ในหน้าตัดดินมากก็ได้ ซึ่งดินเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

ดินสีเทาหรือสีน้ำเงิน

การที่ดินมีสีเทา เทาปนน้ำเงิน หรือน้ำเงิน บ่งชี้ว่าดินอยู่ในสภาวะที่มีน้ำแช่ขังเป็นเวลานาน เช่น ดินนาในพื้นที่ลุ่ม หรือดินในพื้นที่ป่าชายเลนที่มีน้ำทะเลท่วมถึงอยู่เสมอ มีสภาพการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศไม่ดี ทำให้เกิดสารประกอบของเหล็กพวกที่มีสีเทาหรือสีน้ำเงิน

แต่ถ้าดินอยู่ในสภาวะที่มีน้ำแช่ขังสลับกับแห้ง ดินจะมีสีจุดประ ซึ่งโดยทั่วไปมักปรากฏเป็นจุดประสีเหลืองหรือสีแดงบนพื้นสีเทา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบออกไซด์ของเหล็กที่สะสมอยู่ในดิน โดยสารเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในรูปที่มีสีเทาเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีน้ำแช่ขัง ขาดออกซิเจนเป็นเวลานานๆ และเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่ให้สารสีแดงเมื่อได้รับออกซิเจน

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปัจจัยในการเกิดดิน


ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกระบวนการกำเนิดดินนั้น มีอยู่มากมาย แต่ที่มีความสำคัญต่อลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินนั้น มีอยู่ 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ภูมิอากาศ วัตถุต้นกำเนิดดิน สภาพพื้นที่ สิ่งมีชีวิต และเวลา


รูปร่างของโลก
รูปทรงสัณฐานของโลก
โลก (Earth) โลกของเรามีรูปร่างลักษณะเป็นรูปทรงรี (Oblate แต่พื้นผิวโลกที่แท้จริงมีลักษณะขรุขระ สูง ต่ำ ไม่ราบเรียบ สม่ำเสมอ พื้นผิวโลกจะมีพื้นที่ประมาณ 509,450,00 ตารางกิโลเมตรมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว 12,757กิโลเมตรมีเส้นผ่าศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ 12,714 กิโลเมตร จะเห็นว่าระยะทางระหว่างแนวนอน (เส้นสูนย์สูตร) ยาวกว่าแนวตั้ง (ขั้วโลกเหนือ -ใต้) จากลักษณะดังกล่าวนี้ ทำให้ไม่สามารถใช้รูปทรงเรขาคณิตอย่างง่ายแสดงขนาด
รูปร่างของโลกได้อย่างถูกต้องดังนั้นเพื่อความสะดวกต่อการพิจารณารูปทรงสัณฐานของโลกและในกิจการของแผนที่ จึงมีการใช้รูปทรงสัณฐานของโลกอยู่ 3 แบบ คือ ทรงกลม (Spheroid) ทรงรี (Ellipsoid) และ ยีออยด (Geoid) ทรงกลม หรือ สเฟียรอยด์ เป็นรูปทรงที่ง่ายที่สุด จึงเหมาะเป็นสัณฐานของโลกโดยประมาณ ใช้กับแผนที่มาตราส่วนเล็ก
ที่มีขอบเขตกว้างขวาง เช่น แผนที่โลก แผนที่ทวีป หรือ แผนที่อื่นๆที่ไม่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูง ทรงรี หรือ อิลิปซอยด์ โดยทั่วไป คือ รูปที่แตกต่างกับรูปทรงกลมเพียงเล็กน้อยซึ่งจะมีลักษณะใกล้เคียง กับสัณฐานจริงโลกมากเหมาะสำหรับ ใช้เป็นพื้นผิวการรังวัดและการแผนที่ที่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูง เช่น แผนที่ระดับชุมชนเมือง

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นกรด-เบสของดิน


ความเป็นกรด-เบสของดิน

ความเป็นกรด-เบสของดิน หมายถึง ปริมาณของไฮโดรเจนที่มีอยู่ในดิน ความเป็นกรด-เบส กำหนดค่าเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1-14 เรียกค่าตัวเลขนี้ว่าค่า pH โดยจัดว่า

สารละลายใดที่มีค่า pH น้อยกว่า 7 สารละลายนั้นมีสมบัติเป็นกรด

สารละลายใดที่มีค่า pH มากกว่า 7 สารละลายนั้นมีสมบัติเป็นเบส

สารละลายใดที่มีค่า pH เท่ากับ 7 สารละลายนั้นมีสมบัติเป็นกลาง


วิธีทดสอบความเป็นกรด-เบส มีวิธีทดสอบได้ดังนี้

1. ใช้กระดาษลิตมัสสีน้ำเงินหรือสีแดง โดยนำกระดาษลิตมัสทดสอบกับสารที่สงสัย ถ้าเป็นกรดจะเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นสีแดง และถ้าเป็นเบสจะเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

2. ใช้กระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ โดยนำกระดาษยูนิเวแซลอินดิเคเตอร์ทดสอบกับสารแล้วนำไปเทียบกับแผ่นสีที่ข้างกล่อง

3. ใช้น้ำยาตรวจสอบความเป็นกรด-เบส เช่น สารละลายบรอมไทมอลบลูจะให้สีฟ้าอ่อนในสารละลายที่มี pH มากกว่า 7 และให้สีเหลืองในสารละลายที่มี pH น้อยกว่า 7

ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้ดินเป็นกรด ได้แก่ การเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ในดิน การใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด สารที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท

ปัจจัยที่ทำให้ดินเป็นเบส ได้แก่ การใส่ปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด์)

ความเป็นกรด-เบาของดินนั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช พืชแต่ละชนิดเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีค่า pH ที่เหมาะแก่พืชนั้นๆ ถ้าสภาพ pH ไม่เหมาะสมทำให้พืชบางชนิดไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุที่ต้องการที่มีใน ดินไปใช้ประโยชน์ได้

การแก้ไขปรับปรุงดิน
ดินเป็นกรด แก้ไขได้โดยการเติมปูนขาว หรือดินมาร์ล

ดินเป็นเบสแก้ไขได้โดยการเติมแอมโมเนียมซัลเฟต หรือผงกำมะถัน

ดินมาร์ล คือ ดินที่ได้จากการสลายตัวของหินปูน ซึ่งมีแคลเซียมคาร์บอนเนตเป็นองค์ประกอบ ดินมาร์ลมีมากในจังหวัด

เนื้อดิน


เนื้อดิน (texture)

เนื้อดิน เป็นสมบัติที่บอกถึงความหยาบหรือละเอียดของชิ้นส่วนเล็กๆ ของดิน ที่เราเรียกว่า “อนุภาคของดิน” ซึ่งอนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่ท่ากัน แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ขนาดใหญ่เรียกว่าอนุภาคขนาดทราย (2.0-0.05 มิลลิเมตร) ขนาดกลางเรียกว่าอนุภาคขนาดทรายแป้ง (0.05-0.002 มิลลิเมตร) และขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว (< 0.002 มิลลิเมตร)
การรวมตัวกันของอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเป็นเนื้อดินชนิดต่างๆขึ้นมา ในการจำแนกประเภทของเนื้อดินนั้นจะถือเอาเปอร์เซ็นต์ของอนุภาคขนาดเหล่านี้ที่มีอยู่ในดินนั้นๆ เป็นหลัก โดยทั่วไปเนื้อดินอาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ
1. ดินทราย
2. ดินร่วน
3. ดินเหนียว

ปัจจัยในการเกิดดิน


องค์ประกอบทางแร่ธาตุของเปลือกโลก
เปลือกโลกคือ ส่วนที่เป็นของแข็งอยู่ส่วนนอกสุดของโลก ประกอบไปด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ มีหินตะกอนและหินแปรอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย จากการวิเคราะห์ตัวอย่างหินพบว่าธาตุออกซิเจนพบมากที่สุดรองมาได้แก่ ซิลิกอน อลูมิเนียม เหล็ก คัลเซียม โซเดียม โปตัสเซียม และแมกนีเซียม ธาตุทั้งหมดรวมกันแล้วมีมากกว่า ร้อยละ 99 ของเปลือกโลก และแร่ที่พบว่ามีมากได้แก่แร่ควอร์ตซ์ ซิลิเกต และอลูมิโนซิลิเกต ดิน เป็นเทหวัตถุธรรมชาติ ที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ ดินจะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 5 ปัจจัย (ภาพที่2.1) ด้วยกัน คือ
1. ภูมิอากาศ (climate)
2. พืช (vegetation)
3. สภาพภูมิประเทศ (topography
4. วัตถุต้นกำเนิด (parent materials)
5. ระยะเวลา (time)

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของดิน


โดยปกติแล้วเนื้อดินจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ดินที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพืชจะต้องมีของแข็ง ของเหลวและก๊าซในอัตราส่วนที่สมดุลกัน และสอดคล้องกับความต้องการของพืชแต่ลละชนิดสวนประกอบที่สำคัญของดินอาจแบ่ง ได้ดังนี้
1. อนินทรียวัตถุ
อนินทรียวัตถุ(inorganic matter) ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งแร่ธาตุนั้นนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของดินซึ่งมีอยุ่มากมายหลายชนิด และจะผันแปรไปตามชนิดของดิน แร่ธาตุที่ประกอบอยู่ในดินมากที่สุดคือ ออกซิเจน มีร้อยละ47 รองลงมาคือซิลิคอน มีร้อยละ 28 และอะลูมิเนียม เหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียมรวมกันแล้วมีประมาณร้อยละ23 สำหรับแร่ธาตุที่ีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอศฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส โบรอน ทองแดง สังกะสี โมลิบดินัมและคอลรีนเป็นต้น
2. อินทรียวัตถุ
อินทรียวัตถุ(organic matter) ประกอบด้วยวัตถุต่างๆที่เกิดจาการเน่าเปื่อยผุพังของสิ่งมีชีวิตปะปนอยุ่ใน ดิน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยหรือเจริญเติบโตอยู่ในดินด้วยซึ่งสิ่ง ต่างๆทั้งหมดนี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
2.1 อินทรียวัตถุที่ยังมีชีวิต เช่นไส้เดือน แมลงและแบคทีเรียชนิดต่างๆซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะช่วยทำให้เกิดการย่อย สลายซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมอยู่เพิ่มธาตุอาหารแก่พืชและทำให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
2.2 อินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพังบางส่วน ส่วนที่ผุพังจะกลายเป็นขุยอิทรียในดิน ส่วนที่เหลือจะเป็นดินร่วนซุย
2.3 อินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยจนไม่ปรากฏโครงสร้างเดิมให้เห็น การ เน่าเปื่อยของอินทรียวัตถุจะทำให้เกิดก๊าซขึ้น ต่อมาเมื่อน้ำไหลเข้าไปผสมจะทำให้เกิดสารประกอบชนิดใหญ่ขึ้นมาและพืชสามารถ นำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต
3. น้ำในดิน
น้ำในดิน (soil water ) เป้นส่วนประกอบที่สำคัญของดิน สำหรับความชื้นที่ปรากฏในดินแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ดินเหนียวจะอุ้มน้ำได้ดีกว่าดินทรายและดินร่วน ทั้งนี้เพราะขนาดช่องว่างในเม็ดดินแตกต่างกันน้ำที่ปรากฏอยู่ในดินจะแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ
3.1 น้ำประกอบทางเคมี (chemical combined water) เป็นความชื้นที่แทรกอยุ่ในอนุภาคของเม็ดดินและสามารถทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุที่อยู่ในดินได้
3.2 น้ำเหลื่อ (free water) คือน้ำที่ซึมอยู่ระหว่างเม็ดดิน แต่ไม่อยู่ในในวิสัยที่เม็ดดินจะดูดซับเอาไว้ได้อจึงมีอิสระที่จะไหลไปตามแรงดึงดูดของโลก น้ำชนิดนี้มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่มากนัก
3.3 น้ำซับ (capillary water) เป็นน้ำที่ซึมซับอยุ่ตามผิวอนุภาคของเม็ดดินบางครั้งจะซึมอยู่เต็มช่องว่าง ของเม็ดดิน จึงทำให้สภาพทั่วไปของเนื้อดิน ชุ่มชื้นแต่ไม่ถึงกับแฉะ เป็นน้ำที่พืชสามารถนำมาใช้ในการเจริญเติบโตได้
3.4 น้ำเยื่อ (hygroscopic water) เป็นความชื้นที่อนุภาคของแข็งในเม็ดดินดูดจับเอาไว้ โดยจะมีปริมาณไม่มากนัก บางที่เรียกน้ำชนิดนี้ว่า “น้ำจับดิน” น้ำชนิดนี้เชื่อว่าน้ำชนิดนี้จะมีลักษณะครึ่งแข็งครึ่งไอ
4. อากาศในดินอากาศในดิน (soil air) เป็นอากาศที่แทรกอยู่ในชั้นดิน โดยมีลักษณะทั่วไปเหมือนกับอากาศบนดิน แต่ในดินจะมีส่วนของก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์สูงกว่าออกซิเจน สวนปริมาณของกีาซไนโตรเจนจะคงที่ ซึ่งก๊าซไนโตรเจนในดินจะมีคุณค่าต่อพืชก็ต่อเมื่อแบคที่เรียในดินช่วยเปลี่ยนไปเป็นไนเตรด ออกซิเจนจะเป็นก๊าซที่พืชดูดเข้าไปเพื่อแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดร์ออกไซด์

หน้าตัดชั้นดิน


ปัจจัยต่างๆของการกำเนิดดินทำให้ได้ดินที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างมาก ดินในภูมิประเทศหนึ่งๆ จะมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เราเรียกภาคตัดตามแนวดิ่งของชั้นดินเรียกว่า “ หน้าตัดดิน” (Soil Horizon) ซึ่งประกอบด้วยดินที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ เรียกว่า “ ชั้นดิน” (Soil horizon)
นักปฐพีวิทยากำหนดชื่อของชั้นดินโดยใช้ลักษณะทางกายภาพ ดังนี้

· - ชั้น โอ (O-horizon)เป็นช่วงชั้นดินที่มีสารอินทรีย์หรือฮิวมัสสะสมตัวอยู่มาก มักมีสีเทาหรือเทาดำ ดินชั้นโอ ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ป่าส่วนในพื้นที่การเกษตรจะไม่มีชั้นโอในหน้าตัดดิน เนื่องจากถูกไถพรวนไปหมด

· - ชั้น เอ (A-horizon) เป็นเขตการซึมชะ (Zone of Leaching) เป็นชั้นที่น้ำซึมผ่านจากชั้นบน แล้วทำปฏิกิริยากับแร่ บางชนิด เกิดการสลายตัวของแร่ ในพื้นที่เกษตรกรรมดินชั้นเอ จะถูกไถพรวน เมื่อมีการย่อยสลายของรากพืชและมีการสะสมอินทรียวัตถุ สารละลายที่ได้จะซึมผ่านลงไปสะสมตัวในชั้นต่อไปทำให้ดินชั้นนี้ มีสีจางลง

· - ชั้น บี (B-horizon) เป็นเขตการสะสมของแร่ในชั้นดิน ( Zone of Accumulation ) เป็นชั้นที่มีการตกตะกอน และสะสมตัวของแร่จากสารละลายที่ไหลลงมาจากชั้น เอ ชั้นดิน มักมีสีแดง หรือน้ำตาลแดงตามสีแร่ที่มาสะสมตัวอยู่ ส่วนมากดินชั้นนี้เป็นดินเหนียว

· - ชั้น ซี (C-horizon) เป็นชั้นหินผุ (Weathered rock) ที่หินบางส่วนผุพัง กลายเป็นดินปะปนกับเศษหิน ที่แตกหัก มาจากชั้นหินดานเดิม

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ชุดดินลำปาง


ชุดดินลำปาง
ชุดดินลำปาง (Lampang series: Lp)

กลุ่มชุดดินที่ 16
การจำแนกดิน Fine-silty, mixed, semiactive, isohyperthermic Typic (Aeric)
Endoaqualfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณตะพักลำน้ำและที่ราบระหว่างเขา
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน นาข้าว อาจใช้ปลูกพืชไร่เช่น ข้าวโพด ถั่ว
หรือพืชผัก ก่อนหรือหลังปลูกข้าว
การแพร่กระจาย พบมากในภาคเหนือตอนบน บริเวณตะพักลำน้ำและที่ราบระหว่างเขา
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Btg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีเทาปนชมพู สีน้ำตาลปนเทาถึงสีน้ำตาลอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งถึงดินร่วนปนดินเหนียว สีเทาปนชมพูหรือสีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลปนเหลือง หรือสีแดงปนเหลือง บางแห่งอาจมีศิลาแลงอ่อนและก้อนลูกรังปะปนอยู่บ้าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ความลึก (ซม.) อินทรียวัตถุ ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน ความอิ่มตัวเบส ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25 ต่ำ ต่ำ ปานกลาง ต่ำ ต่ำ ต่ำ
25-50 ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ
50-100 ต่ำ ต่ำ ปานกลาง ต่ำ ต่ำ ต่ำ

ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินหินกอง และชุดดินศรีเทพ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีอินทรียวัตถุต่ำ และมักแน่นทึบใต้ชั้นไถพรวน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรไถพรวนให้ลึก ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต ในพื้นที่ชลประทาน นอกฤดูทำนาอาจปลูกพืชไร่หรือพืชผักซึ่งจะต้องยกร่องและปรับสภาพดินให้ร่วนซุยและระบายน้ำดีขึ้น โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ

ดินของประเทศไทย


ดินของประเทศไทย
กรมพัฒนาที่ดินได้ทําการสํารวจดิน เพื่อจัดทำแผนที่และรายงานการสํารวจดินในระดับจังหวัด มาตราส่วน 1:50,000 และ 1:100,000 ตั้งแต่ ปี 2506 จนแล้วเสร็จทั้งประเทศ โดยมีหน่วยการจําแนกดินเป็นชุดดิน (soil series) ตามระบบ การจําแนก ดินของประเทศสหรัฐอเมริกา ฉบับปี พ. ศ. 2481 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อกําหนดหลายครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ในปี พ.ศ. 2531
กองสํารวจและจําแนกดิน กรมพัฒนาที่ดินจึงทําการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดชุดดินที่ได้จัดตั้งไว้ แล้วทั่ว ประเทศ ให้สอดคล้องกับระบบการจำแนกดังกล่าว ผู้สนใจสามารถสืบค้นรายละเอียดของชุดดินจัดตั้ง เช่น ลักษณะทั่วไปของบริเวณที่พบชุดดินจัดตั้ง การจำแนกและให้ชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ของชุดดิน สมบัติทางเคมี และฟิสิกส์ของชั้นดินแต่ละชั้น และงานค้นคว้าวิจัยของหน่วยงานในกรมพัฒนา ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุดดินที่ได้จำแนกไว้แล้วในประเทศไทย

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โครงการอนุรักษ์ดินโดยใช้หญ้าแฝก


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการใช้ที่ดินที่ถูกกัดเซาะจากการฝนตก ลงมาชะล้างหน้าดิน ทำให้ขาดความอุดมสมบูรณ์ และบางครั้งยังเกิดปัญหาดินพังทลาย ทำให้เกิดความเสีย หายต่อพื้นที่ทำการเกษตร และต่อทรัพยากรดินและน้ำ จึงทรงมีพระราชดำรัสให้ใช้หญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ ดินและน้ำ เนื่องจากเป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการได้เอง ไม่ต้องดูแลรักษา หลังการปลูกมากนัก และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีอื่น ๆ


ลักษณะทรงพุ่มของกอหญ้าแฝกภาพกอหญ้าแฝกเถื่อนกำลังแตกกอภาพการแตกกอของหญ้าแฝกขึ้นเบียดเสียดกันแน่นเป็นแนวรั้วตะกอนดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน นำหญ้าแฝกไปปลูกตามฐานปฏิบัติการต่าง ๆ และหมู่บ้านใกล้เคียง และขยายการปลูกไปทั่วประเทศ เนื่องจาก หญ้าแฝกมีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการจัดระบบอนุรักษ์ดิน โดยปลูกเป็นแนวรั้วกั้นตามระดับชั้น ได้มีการ ศึกษาทดลองใช้อย่างได้ผลดีในประเทศแถบเอเชียหลายประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่า การปลูกหญ้าแฝกยังส่งผล ให้การเพาะปลูกพืชอื่น ๆ ระหว่างแนวรั้วหญ้าแฝกนั้น ให้ผลผลิตได้มากขึ้นกว่าเดิม
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้จัดทำแผนงานสาธิต และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ เป้าหมาย โดยกำหนดให้มีการปลูกในพื้นที่ของตำรวจตระเวนชายแดน ในส่วนของ กองกำกับตำรวจตระเวน ชายแดนที่ 41 ตำบลขุดกระทิง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ได้กำหนดพื้นที่สาธิตและส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก ตามแผนสาธิตและส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เป้าหมาย ในส่วนจังหวัดชุมพร ประจำปี 2537 ไว้ดังนี้
1. กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 412 ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมือง จำนวน 10,000 ต้น
2. กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 414 ตำบลยายไท อำเภอท่าแซะ และฐานปฏิบัตการตำรวจ
ตระเวนชายแดนที่ 4141 , 4142 , 4143 จำนวน 25,000 ต้น
ในปี พ.ศ. 2541 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ในพื้นที่จังหวัดชุมพรเพิ่มเติม ดังนี้
1. กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 414 ตำบลยายไท อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ราบที่มีสภาพดินเสื่อมโทรม เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินและอนุรักษ์
ดินและน้ำ จำนวน 5,000 ต้น
ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่บริเวณรองสระน้ำเพื่อรักษาคุณภาพแหล่งน้ำ จำนวน 28,500 ต้น
2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จังหวัดชุมพร
ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ราบ ที่มีสภาพดินเสื่อมโทรม เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินและอนุรักษ์
ดินและน้ำ จำนวน 35,204 ต้น
ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน เพื่อป้องกันการชะล้างและการพังทลายของหน้าดิน
จำนวน 19,000 ต้น
ปลูกหญ้าแฝกรอบโคนไม้ผล เพื่อรักษาความชุ่มชื่นในดินในแปลงไม้ผล
จำนวน 5,600 ต้น
ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่รองสระน้ำเพื่อรักษาคุณภาพน้ำและแหล่งน้ำ จำนวน 17,400 ต้น

ดินเปรี้ยว


ดินเปรี้ยว
ดินเปรี้ยวจัด หมายถึง ดินที่มีสภาพความเป็นกรดสูงมาก เนื่องจากอาจจะมี กำลังมี หรือได้เคยมีกรดกำมะถันซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิดดินชนิดนี้อยู่ในหน้าตัดของดิน และปริมาณของกรดกำมะถันที่เกิดขึ้นนั้นมีมากพอที่จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินและการเจริญเติบโตของพืชในบริเวณนั้น
การเกิดดินเปรี้ยวจัด..เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการกำเนิดของดินซึ่งเกี่ยวข้องกับตะกอนน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ทำให้เกิดการสะสมสารประกอบกำมะถันขึ้นในดิน ซึ่งเมื่อดินแห้งสารประกอบกำมะถันเหล่านี้จะแปรสภาพทำให้เกิดกรดกำมะถันขึ้นในดิน ทำให้ดินเป็นกรดสูงมากจนมีผลกระทบต่อพืชที่ปลูก โดยทั่วไปจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างหรือพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4.0 และมักจะพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์ (jarosite) ในชั้นดินล่าง
แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามระดับความลึกของจุดประสีเหลืองฟางข้าวที่พบ ได้แก่
1. ดินเปรี้ยวจัดระดับตื้น พบจาโรไซต์ภายใน 50 ซม. จากผิวดิน
2. ดินเปรี้ยวจัดระดับลึกปานกลาง พบจาโรไซต์ภายในช่วง 50-100 ซม. จากผิวดิน
3. ดินเปรี้ยวจัดระดับลึก พบจาโรไซต์ที่ระดับความลึกมากกว่า 100 ซม.จากผิวดิน

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ดินเค็ม


ดินเค็ม (Salinity)

ดินเค็มคือดินที่มีปริมาณเกลือสูงจนมีผลเสียต่อพืช ซึ่งพิจารณาได้จากค่าการนำไฟฟ้า Electrical conductivity (EC) ของดิน ในดินเค็มมีค่าการนำไฟฟ้าของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำมากกว่า 4 dS/m มีอิออนที่เกี่ยวข้องหลายตัวแต่ที่สำคัญๆ คืออิออนของโซเดียม (Na) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) คลอไรด์ และซัลเฟต ผลของดินเค็มที่มีต่อพืชคือทำให้พืชขาดน้ำ เพราะพืชดูดน้ำไปใช้ไม่ได้ เกิดความเป็นพิษของโซเดียมและคลอรีน การมีเกลือมากยังไปยับยั้งการดูดใช้โพแทสเซียมและแคลเซียมด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ปริมาณคลอโรฟิลล์และอัตราการสังเคราะห์แสงลดลง เพิ่มอัตราการหายใจและเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในพืชในขณะที่ปริมาณโพแทสเซียมและแคลเซียมกลับลดลง (เนื่องจากการดูดใช้ลดลง) ในข้าวที่ทนต่อความเค็ม โดยปกติจะเป็นข้าวที่ยังคงสามารถดูดใช้ธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะโพแทสเซียมได้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากดินเค็ม ทำให้ข้าวที่ทนเค็มมีค่า K:Na สูงกว่า และมีระดับของ Ca2+ ในใบสูงกว่าพันธุ์อ่อนแอ
ข้าวที่ได้รับผลกระทบจากดินเค็มจะมีปลายใบสีขาว บางใบแห้งเป็นแถบๆ จะเกิดกับใบแก่ก่อนแล้วจึงลามมาที่ใบที่กำลังเจริญเติบโต ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโตและการแตกกอลดลง มักเกิดเป็นหย่อมๆ ในแปลง ข้าวที่กำลังงอกค่อนข้างจะมีความทนทานต่อความเค็ม แต่ค่อนข้างจะอ่อนแอในระยะที่เป็นต้นกล้า ระยะปักดำ และระยะออกดอก ดินเค็มอาจทำให้ข้าวขาดธาตุฟอสฟอรัส สังกะสี เหล็ก หรือโบรอนได้ด้วย อาการอื่นๆ ของข้าวที่ได้รับผลกระทบจากดินเค็มคืออัตราความงอกลดลง ความสูงและการแตกกอลดลง รากมีการเจริญเติบโตไม่ดี ดอกมีความเป็นหมันเพิ่มขึ้น น้ำหนักเมล็ดและโปรตีนในเมล็ดลดลง (แต่ไม่มีผลต่อคุณภาพการหุงต้ม) ทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด สามารถประมาณสัดส่วนของผลผลิตที่ลดลงได้คร่าวๆ ดังนี้

EC น้อยกว่า 2 dS/m: ไม่ทำให้ผลผลิตลดลง
EC มากกว่า 4 dS/m: ทำให้ผลผลิตลดลงเล็กน้อย คือลดลงร้อยละ 10 – 15
EC มากกว่า 6 dS/m: ทำให้ผลผลิตลดลงปานกลาง คือลดลงร้อยละ 20 – 50
EC มากกว่า 10 dS/m: ทำให้ผลผลิตในพันธุ์ที่อ่อนแอลดลงมากกว่าร้อยละ 50
สาเหตุที่ดินเค็มเกิดจากดินมีอัตราการระเหยน้ำสูงและน้ำใต้ดินมีปริมาณเกลือสูง มีวิธีการป้องกันและแก้ไขดินเค็มดังนี้

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของสารประกอบ


ประโยชน์ของสารประกอบ
สารประกอบ

สารประกอบ (Compound) เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน สร้างพันธะเคมีต่อกันในอัตราส่วนที่คงที่ เกิดเป็นโมเลกุล เขียนแทนสูตรเคมี เช่น น้ำ (H2O) เกลือแกง (NaCl) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้ำส้มสายชู (CH3COOH) เป็นต้น จะพบว่าสารประกอบมีสูตรเดียว ถ้าสูตรเคมีเปลี่ยนไปจะไม่ใช่สารเดิม เช่น ธาตุคาร์บอน (C) ทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน (O2) เกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันไป

สารประกอบสามารถแยกสลายให้องค์ประกอบย่อย เช่น เมื่อเผาด่างทับทิม (KMnO4) จะได้ก๊าซออกซิเจน ของแข็งสีเขียว (K2MnO2) และของแข็งสีดำ (MnO2) เป็นต้น

การเกิดสารประกอบ

สัญลักษณ์แสดงบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผ่านการฉายรังสี


สัญลักษณ์แสดงบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผ่านการฉายรังสี
รังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี เมื่อผ่านเข้าสู่สิ่งมีชีวิตใดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้น และอาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้รังสีสามารถทำให้มีการเปลี่ยนแปลง
โครโมโซมของเซลล์สืบพันธุ์ได้ ดังนั้น ถ้าเซลล์ สืบพันธุ์ได้รับรังสีในปริมาณมากพอต่อการเปลี่ยนแปลงก็จะ
มีผลสืบเนื่องต่อไปยังลูกหลานได้ เช่นเดียวกับ การกลายพันธุ์ของพืช การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่วนมากให้ผลในทาง
ไม่พึงปรารถนาด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญาโดยห้ามทำการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
ทั้งในอากาศและบนพื้นดิน

หลักในการป้องกันอันตรายจากรังสี
1. พยายามอยู่ห่างบริเวณที่มีธาตุกัมมันตรังสีให้มากที่สุด
2. หากจำเป็นต้องเข้าใกล้บริเวณที่มีธาตุกัมมันตรังสี ควรเข้าใกล้ในช่วงเวลาที่สั้นที่สุด
3. ควรใช้วัตถุที่รังสีทะลุผ่านได้น้อยมาเป็นเครื่องกำบัง เช่น ใช้ตะกั่วหรือคอนกรีต
เป็นเครื่องกำบังรังสีแกมมาและรังสีบีตา สัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับรังสี สัญลักษณ์เตือนภัยเกี่ยวกับกัมมันตรังสี

สัญลักษณ์เตือนภัยกัมมันตรังสี


สัญลักษณ์เตือนภัยกัมมันตรังสี
วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive material) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย การพิจารณาความเป็นอันตรายให้เป็นไปตามมารตราฐานและข้อกำหนดต่าง ๆ ด้านการขนส่งสารกัมตรังสีของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างปรหะเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA)

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พฤษศาสตร์ในโรงเรียน


พฤษศาสตร์ในโรงเรียน

การเกิดปฏิกิริยาเคมี


ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน
ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี

แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์



แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์
เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ในระบบระบายไอเสียของเครื่องยนต์หัวฉีดยุคใหม่ มีจุดประสงค์หลักในการช่วยลดมลพิษในไอเสียก่อนไหลเข้าสู่หม้อพักใบแรก โดยอาจติดตั้งรวมกับท่อร่วมไอเสียหรือแยกออกมา มักเรียกกันว่า -ตัวกรองไอเสีย- ทั้งที่น่าจะเรียกว่า อุปกรณ์บำบัดไอเสีย เพราะไม่ได้ทำงานด้วยการกรองไว้ แต่ใช้ปฏิกริยาทางเคมีสลับการยึดเหนี่ยวของโมเลกุล เมื่อไอเสียไหลผ่านรังผึ้งที่เคลือบสารพิเศษไว้ จะเปลี่ยนไฮโดรคาร์บอน, คาร์บอนมอนออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ที่เป็นพิษให้กลายเป็นไอน้ำ, คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจน ที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
อุปกรณ์บำบัดไอเสียมีจุดด้อยที่ค้างคาใจคนส่วนใหญ่ว่า เป็นตัวอั้นการไหลของไอเสีย ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังลดลง และเมื่อหมดสภาพต้องเปลี่ยนตัวใหม่ในราคาหลายพันบาท จึงอาจถูกตัดออกทั้งที่ยังไม่หมดสภาพ โดยไม่ห่วงใยมลพิษในอากาศที่จะเพิ่มขึ้น
ในความเป็นจริง อุปกรณ์บำบัดไอเสียอาจมีผลอั้นไอเสียบ้าง แต่ก็น้อยมากและผู้ผลิตก็พยายามลดปัญหานี้ลง กระทั่งปัจจุบันแทบไม่ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังลดลงเลย ทั้งยังพยายามเพิ่มอายุการใช้งานจนเกิน 100,000-200,000 กิโลเมตร และมีราคาลดลงเรื่อยๆ (หากราชการยกเว้นภาษีเพราะห่วงใยสิ่งแวดล้อม)
ดังนั้น การถอดอุปกรณ์บำบัดไอเสียออกเพื่อหวังผลเรื่องกำลังของเครื่องยนต์จึงไม่ควรกระทำ เพราะมีกำลังเพิ่มขึ้นน้อย แต่เพิ่มมลพิษในอากาศมาก แม้หมดอายุแล้วก็ไม่ควรถอดออกเพื่อต่อท่อตรง
อุปกรณ์บำบัดไอเสียจะมีอายุการใช้งานสั้นลงจากปกติ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ เช่น มีส่วนผสมไอดีหนา-บางเกินไป หรือมีการเติมน้ำมันเบนซินซูเปอร์ (แม้ในปัจจุบันไม่มีสารตะกั่ว) จะทำให้อุปกรณ์บำบัดไอเสียมีอายุการใช้งานสั้นลง แต่ก็ยังมีสารเคลือบบ่าวาล์วซึ่งจะกลายเป็นเถ้าเกาะ โดยทั่วไปแล้วรถยนต์ที่มีอุปกรณ์บำบัดไอเสียติดตั้งอยู่จะใช้ช่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก ไม่สามารถเสียบหัวจ่ายเบนซินซูเปอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สมการเคมี


สมการเคมี คือ กลุ่มสัญลักษณ์ที่เขียนแทนปฏิกิริยาเคมี ให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในระบบ สมการเคมีประกอบด้วยสัญลักษณ์ แสดงสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์ เงื่อนไขแสดงปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยลูกศรทิศทางแสดงของปฏิกิริยา

สารตั้งต้น ผลิตภัณฑ์



Zn (s) +2HCl(aq) ZnCl2(aq) + H2(g)



สารที่เขียนทางซ้ายมือของลูกศร เรียกว่า สารตั้งต้น

สารที่เขียนทางขวามือของลูกศร เรียกว่า สารผลิตภัณฑ์

เครื่องหมาย + หมายถึงทำปฏิกิริยากัน

เครื่องหมาย แสดงการเปลี่ยนแปลงของสารตั้งต้นไปเป็นสารผลิตภัณฑ์

กฎทรงมวลของสาร


กฎทรงมวลของสาร
ลาวัวซิเยร์ : กฎทรงมวล

เมื่อเคมีสมัยใหม่เริ่มต้นในศริสตศตวรรษที่ 18 นักวิทยาศาสตร์เริ่มที่จะสังเกตปริมาณของสาร จากการทดลองของลาวัวซิเยร์ เพื่อแยกแก๊สออกซิเจนออกมา ในการทดลองของ ลาวัวซิเยร์ มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องดังรูป ด้านล่าง โดยที่นำเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ใส่ลงไปในขวดคอยาวโดยที่คอขวดต่ออยู่กับครอบแก้วรูประฆังมีปริมาตร 40 ลูกบาศก์นิ้วสำหรับเก็บแก๊สที่เผาได้ โดยใช้เตาเผาที่มีถ่าน (charcoal) เป็นเชื้อเพลิง เขาได้ชั่งน้ำหนักของสารเริ่มต้น ก่อนเผาไว้ จากนั้นทำการเผา เมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ เป็นเวลา 12 วัน จะสังเกตได้ว่าระดับน้ำในขวดรูประฆังลดลงแสดงว่าต้องมีแก๊สเกิดขึ้น ทดสอบโดยการจุดเทียนไขได้เปลวไฟที่สว่าง มากกว่าปกติ ส่วนในขวดคอยาวพบว่ามีปรอทเหลว(mercury)

ระบบปิดและระบบเปิด


ระบบปิดและระบบเปิด
ระบบปิดระบบเปิด
ความหมายของระบบปิดระบบเปิด
ระบบเปิดและระบบปิด
ระบบเปิด ( Open System )
คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ
ระบบปิด ( Close System )
คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย
หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว
ภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้
โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด
เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น

การเผาไหม้


ปฏิกิริยาการเผาไหม้ (Combustion)
ปฏิกิริยาการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซึ่งมีธาตุคาร์บอนกับไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เชื้อเพลิงส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมเลียมและถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป ส่วนฟืน ถ่าน ขี้เลื่อย หรือแอลกอฮอล์ เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วสามารถผลิตขึ้นมาทดแทนได้ เชื้อเพลิงเมื่อเผาไหม้จะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในอากาศได้ 2 แบบ ดังนี้

ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี


ตัวเร่งปฏิกิริยา (อังกฤษ: catalyst) คือ วัตถุที่เพิ่มเข้าไปในในปฏิกิริยาแล้วทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น แต่ไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาเช่น การใส่ยีสต์ในการหมักเหล้าเพื่อเร่งปฏิกิริยา มีทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี เช่น โลหะ และตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่นเอนไซม์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี


ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยา หมายถึง ปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลง หรือปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้นต่อหน่วยเวลา โดยอาจวัดปริมาณของสารได้จากความเข้มข้น ปริมาตร หรือมวลของสารที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากเกิดปฏิกิริยา ซึ่งสามารถเขียนสูตรแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้น บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แม้แต่ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งต้นชนิดเดียวกัน บางครั้งก็ยังเกิดขึ้นได้ด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกัน โดยอัตราเร็วของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับชนิดของสารตั้งต้นและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ

ข้อดีของการใช้พลังงานทดแทน


ข้อดี
ข้อดี
1.เป็นพลังงานที่ต้องใช้ในอนาคต
2.เป็นพลังงานที่สะอาด
3.เป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ(บางชนิด)
4.เป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ข้อเสีย
1.ในปัจจุบันยังมีราคาต่อหน่วยแพง
2.เทคโนโลยีการแปรรูปพลังงานทดแทนบางชนิดมีกาพัฒนาน้อย
3.ศักยภาพของพลังงานมีเฉพาะแหล่งและขีดจำกัด
4.ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้น้อยมาก

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พลังงานทดแทน


พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มาเป็น ๒ ประเภท คือ

พลังงานทดแทน (Alternative Energy)จากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และ

พลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น

ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม


เรื่อง ผลของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นจากสารตั้งต้นเข้าทำปฏิกิริยากัน เกิดเป็นสารผลิตภัณฑ์ต่างชนิดกันผลิตภัณฑ์ที่ได้มีทั้งประโยชน์และโทษ รอบตัวเรานั้นมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นมากมาย แม้กระทั่งการดำรงชีวิตอยู่ได้ของเราก็เกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีภายในร่างกาย ดังนั้น ปฏิกิริยาเคมีจึงมีความสำคัญ ปฏิกิริยาเคมีที่พบเห็นทั่วไป เช่น การเกิดฝนกรด ปฏิกิริยาเผาไหม้ ปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบออกไซด์ของโลหะและออกไซด์ของอโลหะ ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับกรด ปฏิกิริยาของกรดกับสารคาร์บอเนต ปฏิกิริยาระหว่ากรดกับเบส เป็นต้น

แก๊สโซฮอล์


น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 คือ น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของ เอทานอล หรือแอลกอฮอล์ 20% นั่นเอง น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 หรือ 91 ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน คือ น้ำมันเบนซิน 95 หรือ 91 ที่มีส่วนผสมของ เอทานอล 10% หรือเรียกว่า E10
น้ำมัน E10 นี้ รถยนต์ส่วนใหญ่ที่เป็นระบบหัวฉีดแล้วก็จะใช้ได้โดยไม่มีปัญหา แต่น้ำมัน E20 นี้ ต้องใช้กับรถยนต์ที่ผลิตมาให้ใช้ได้เท่านั้น เพราะแอลกอฮอล์มีคุณสมบัติในการกัดกร่อน ส่วนประกอบที่เป็นยาง หรือเรซิ่นบางอย่างจะถูกกัดกร่อนได้ รถที่ซื้อก่อนปี พ.ศ. 2551 นี้ส่วนใหญ่จะใช้ไม่ได้ค่ะ ต้องหา part ที่ทนก่อการกัดกร่อนมาเปลี่ยนก่อนจึงจะใช้ได้ แต่ปัญหาคือ ไม่รู้ผู้ผลิตรถแต่ละเจ้าจะเสนอทางเลือกนี้ให้แก่เราหรือเปล่า เราเองก็ไม่รู้ว่าจะหา part เหล่านี้มาจากไหน

แก๊สโซฮอล์


แอลกอฮอล์ที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมของ E85 มักเป็นไบโอแอลกอฮอล์ ที่ได้จากธรรมชาติ เช่นจากข้าวโพดในสหรัฐอเมริกา จากอ้อยและมันสำปะหลังในประเทศไทย
E85 จะมีค่าออกเทน อยู่ที่ 100 ถึง 105 [1] สูงกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป ซึ่งมีค่าออกเทน 87 ถึง 95 รถยนต์ที่ใช้ E85 จะมีอัตราการสิ้นเปลืองสูงกว่ารถที่ใช้น้ำมันเบนซิน ประมาณ 28% [2][3] แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเครื่องยนต์รุ่นใหม่ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับคุณสมบัติของ E85 เพื่อให้การสิ้นเปลืองลดน้อยลง
พาหนะที่ใช้น้ำมัน E85 จะต้องใช้เครื่องยนต์ที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ ดังเช่นรถFFV ในสหรัฐอเมริกา บราซิล สวีเดน อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้ Conversion Kit สำหรับแปลงระบบการจ่ายน้ำมันชื้อเพลิงในรถทั่วไปที่ไม่ใช่ FFV กันอย่างแพร่หลายทั้งในบราซิลและสหรัฐอเมริกา

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แก๊ซโซฮอล์


แก๊ซโซฮอล์ เป็นน้ำมันที่เกิดจากการผสมระหว่างน้ำมันเบนซินกับแอลกอฮอล์ซึ่งผลิตจากพืช ทำให้ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงของรถยนต์จากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่สองชนิดคือ แก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฝนกรด



ฝนกรด

โรงงานอุตสาหรกรรมต่าง ๆ ที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง จะมีควันและสารเจือปนหลายชนิด ซึ่งเมื่อรวมกับน้ำฝนจะกลายเป็นฝนกรด



ฝนกรด

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

สารอาหาร



สารอาหาร


ได้แก่ คาร์โบไฮเรคต ไขมัน โปรตีน



วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ








*

สารอาหาร 1


* สารอาหาร 2



วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554