ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของดิน


โดยปกติแล้วเนื้อดินจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ดินที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพืชจะต้องมีของแข็ง ของเหลวและก๊าซในอัตราส่วนที่สมดุลกัน และสอดคล้องกับความต้องการของพืชแต่ลละชนิดสวนประกอบที่สำคัญของดินอาจแบ่ง ได้ดังนี้
1. อนินทรียวัตถุ
อนินทรียวัตถุ(inorganic matter) ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งแร่ธาตุนั้นนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของดินซึ่งมีอยุ่มากมายหลายชนิด และจะผันแปรไปตามชนิดของดิน แร่ธาตุที่ประกอบอยู่ในดินมากที่สุดคือ ออกซิเจน มีร้อยละ47 รองลงมาคือซิลิคอน มีร้อยละ 28 และอะลูมิเนียม เหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียมรวมกันแล้วมีประมาณร้อยละ23 สำหรับแร่ธาตุที่ีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอศฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส โบรอน ทองแดง สังกะสี โมลิบดินัมและคอลรีนเป็นต้น
2. อินทรียวัตถุ
อินทรียวัตถุ(organic matter) ประกอบด้วยวัตถุต่างๆที่เกิดจาการเน่าเปื่อยผุพังของสิ่งมีชีวิตปะปนอยุ่ใน ดิน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยหรือเจริญเติบโตอยู่ในดินด้วยซึ่งสิ่ง ต่างๆทั้งหมดนี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
2.1 อินทรียวัตถุที่ยังมีชีวิต เช่นไส้เดือน แมลงและแบคทีเรียชนิดต่างๆซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะช่วยทำให้เกิดการย่อย สลายซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมอยู่เพิ่มธาตุอาหารแก่พืชและทำให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
2.2 อินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพังบางส่วน ส่วนที่ผุพังจะกลายเป็นขุยอิทรียในดิน ส่วนที่เหลือจะเป็นดินร่วนซุย
2.3 อินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยจนไม่ปรากฏโครงสร้างเดิมให้เห็น การ เน่าเปื่อยของอินทรียวัตถุจะทำให้เกิดก๊าซขึ้น ต่อมาเมื่อน้ำไหลเข้าไปผสมจะทำให้เกิดสารประกอบชนิดใหญ่ขึ้นมาและพืชสามารถ นำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต
3. น้ำในดิน
น้ำในดิน (soil water ) เป้นส่วนประกอบที่สำคัญของดิน สำหรับความชื้นที่ปรากฏในดินแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ดินเหนียวจะอุ้มน้ำได้ดีกว่าดินทรายและดินร่วน ทั้งนี้เพราะขนาดช่องว่างในเม็ดดินแตกต่างกันน้ำที่ปรากฏอยู่ในดินจะแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ
3.1 น้ำประกอบทางเคมี (chemical combined water) เป็นความชื้นที่แทรกอยุ่ในอนุภาคของเม็ดดินและสามารถทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุที่อยู่ในดินได้
3.2 น้ำเหลื่อ (free water) คือน้ำที่ซึมอยู่ระหว่างเม็ดดิน แต่ไม่อยู่ในในวิสัยที่เม็ดดินจะดูดซับเอาไว้ได้อจึงมีอิสระที่จะไหลไปตามแรงดึงดูดของโลก น้ำชนิดนี้มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่มากนัก
3.3 น้ำซับ (capillary water) เป็นน้ำที่ซึมซับอยุ่ตามผิวอนุภาคของเม็ดดินบางครั้งจะซึมอยู่เต็มช่องว่าง ของเม็ดดิน จึงทำให้สภาพทั่วไปของเนื้อดิน ชุ่มชื้นแต่ไม่ถึงกับแฉะ เป็นน้ำที่พืชสามารถนำมาใช้ในการเจริญเติบโตได้
3.4 น้ำเยื่อ (hygroscopic water) เป็นความชื้นที่อนุภาคของแข็งในเม็ดดินดูดจับเอาไว้ โดยจะมีปริมาณไม่มากนัก บางที่เรียกน้ำชนิดนี้ว่า “น้ำจับดิน” น้ำชนิดนี้เชื่อว่าน้ำชนิดนี้จะมีลักษณะครึ่งแข็งครึ่งไอ
4. อากาศในดินอากาศในดิน (soil air) เป็นอากาศที่แทรกอยู่ในชั้นดิน โดยมีลักษณะทั่วไปเหมือนกับอากาศบนดิน แต่ในดินจะมีส่วนของก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์สูงกว่าออกซิเจน สวนปริมาณของกีาซไนโตรเจนจะคงที่ ซึ่งก๊าซไนโตรเจนในดินจะมีคุณค่าต่อพืชก็ต่อเมื่อแบคที่เรียในดินช่วยเปลี่ยนไปเป็นไนเตรด ออกซิเจนจะเป็นก๊าซที่พืชดูดเข้าไปเพื่อแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดร์ออกไซด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น